วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายกานต์ ไทยาภิรมย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ พร้อมด้วย นางจีรพรรณ มุกุระ ที่ปรึกษาโครงการพิเศษ ส่วนยุทธศาสตร์และอำนวยการ ปปส.ภาค ๕ ร่วมประชุมบูรณาการแผนการแก้ไขปัญหาฝิ่นอย่างครบวงจรพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุม ศมพ.อ.อมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพลตรีบุญยืน อินกว่าง รองแม่ทัพน้อยที่ ๓ /รอง ผอ.ศมพ.อ.อมก๋อย เป็นประธานในการประชุม มีผู้เข้าผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกหน่วยงานภาคีการดำเนินงานจำนวน ๔๐ ท่าน อาทิเช่น นายอำเภออมก๋อย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอมก๋อย ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอมก๋อย,แม่ตื่น เป็นต้น ทั้งนี้มีประเด็นที่สำคัญคือ
๑. ประธานในที่ประชุมมอบนโยบาย
๑.๑ พลตรีบุญยืน อินกว่าง รองแม่ทัพน้อยที่ ๓ /รอง ผอ.ศมพ.อ.อมก๋อย ประธานในที่ประชุม ขอบคุณการทำงานอย่างเข้มข้นในห้วงที่ผ่านมาซึ่งสามารถลดสถานการณ์ปัญหาฝิ่นได้อย่างต่อเนื่อง
๑.๒ ประธานขอบคุณ ป.ป.ส. และ อำเภออมก๋อย ในการสนับสนุนให้มีการจัดสร้างศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่อำเภออมก๋อย แห่งใหม่ ซึ่งสามารถเปิดใช้ดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา
๒.ประเมินสถานการณ์ปัญหาและผลการดำเนินงานสำคัญ
๒.๑ พื้นที่ปลูกฝิ่นในอำเภออมก๋อยสถานการณ์ลดลงเป็นอย่างมาก พบพื้นที่ปลูกฝิ่นเพียง ๓๕ หมู่บ้าน/หย่อมบ้าน จาก ๑๗๙ หมู่บ้าน/หย่อมบ้าน ในห้วงปีงบประมาณ ๒๕๖๐-๖๑
๒.๒ สถานการณ์พื้นที่ปลูกฝิ่นปี ๒๕๖๑-๖๒ ผลจากการสำรวจแปลงฝิ่นห้วงเดือนกันยายน ที่ผ่านมาเริ่มมีการพบพื้นที่การเตรียมแปลงปลูกฝิ่นในพื้นที่ตำบลนาเกียน และตำบลแม่ตื่นรอยต่อกับอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเริ่มมีการเตรียมแปลงและหว่านเมล็ดพันธ์ฝิ่น อายุราว ๑๕ วัน ซึ่งทั้งสองจุด เป็นพื้นที่ใหม่ แนวโน้มจะมีการปลูกมากขึ้นในพื้นที่ตำบลแม่ตื่น
๒.๓ กลุ่มผู้เสพ ผู้ติดฝิ่น มีผู้เข้ารับการบำบัด ๑.๖๘๖ ราย ร้อยละ ๘๐ ใช้ฝิ่นควบคู่กับยาเมทาโดน
- ผู้เข้ารับการบำบัดโดยใช้ยาเมทาโดน ๑,๔๐๘ ราย
- ผู้เข้ารับการบำบัดตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๑ เป็นต้นมา ๙๓ ราย
- ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยรูปแบบความเชื่อจิตวิญญาณ ๒๐๓ ราย (รับยาเมทาโดนควบคู่ ๑๘ ราย)
๒.๔ เครือข่ายรายสำคัญ ๗ เครือข่าย ทำลายเป้าหมายจำนวน ๑ เครือข่าย/เส้นทางการนำเข้าที่สำคัญ อำเภอฮอด-ดอยเต่า-แม่ต๋อม-นาเกียน โดยเฉพาะฝิ่นและยาบ้า (ราคาขายเฉลี่ยเม็ดละ ๑๐๐-๑๒๐ บาท) ส่วนเฮโรอีน ยังไม่พบในพื้นที่
๓. เป้าหมายการดำเนินงานปี ๒๕๖๒ : จำนวน ๖๒ หมู่บ้าน/หย่อมบ้าน แบ่งเป็น
- เป้าหมาย ๓๕ มบ.หลัก ซึ่งต้องดำเนินการอย่างน้อย ๒๘ มบ./หย่อมบ้านที่ลดสถานการณ์พื้นที่ปลูกฝิ่น/
- เป้าหมาย ๒๗ มบ.รอง ซึ่งต้องดำเนินการอย่างน้อย ๒๒ มบ.รอง ต้องไม่ปรากฎพื้นที่ปลูกฝิ่น) /และหยุดยั้งการนำเข้าในเส้นทางหลัก
- งานป้องกันมุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มเป้าหมายเยาวชนและกลุ่มวัยแรงงาน ทั้งในและนอกสถานศึกษา ซึ่งมีหน่วยงานภาคีดำเนินการร่วมคือ อปท. สพฐ.และกศน.
พัฒนากลไกการอำนวยการและบริหารจัดการปัญหาในระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็งและสามารถลดสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
๔.สำนักงาน ปปส.ภาค ๕ ชี้แจงแผนการดำเนินงานปี ๒๕๖๒ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยขับเคลื่อนสามเรื่องหลักด้วยกัน คือ การสืบสวนหาข่าวกลุ่มเครือข่ายสำคัญ/มาตรการป้องกัน วิชาการและข้อมูล/ การสนับสนุนการติดตาม ตามมาตรการสำคัญ เช่น การเฝ้าระวังแปลงฝิ่น,การช่วยเหลือาชีพและติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษา,การติดตามในภารกิจสำคัญ
๕. ระดมความคิดเห็นทั้ง ๖ แผนงานเพื่อมอบหมายเพื่อทบทวนการดำเนินการ ข้อมูลและบูรณาการแผนงานการดำเนินงานปีงบประมาณ ๒๕๖๒