ในปี 2559 พื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ พบว่ามีพื้นที่ปลูกฝิ่นจำนวน ประมาณ 504 ไร่ โดยคิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกฝิ่นทั้งประเทศ ทั้งนี้ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะมีแนวโน้มลดลงเป็นลำดับ แต่ปริมาณฝิ่นที่ปลูกในพื้นที่ก็ยังมีนัยยะเชื่อมโยงต่อกลุ่มนายทุน ผู้มีอิทธิพล ผู้ติดและเสพอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญนอกจากนี้ยังพบอีกว่าพื้นที่ในการปลูกเกือบทั้งหมดที่ปลูกฝิ่นพื้นที่อำเภออมก๋อยได้ถูกดำเนินการการตัดทำลายในพื้นที่ทุกห้วงฤดูกาลปลูกเกือบร้อยละ 100 แต่ก็ยังมีการรุกล้ำเข้าไปปลูกฝิ่นเข้าไปในพื้นที่เดิมต่อเนื่องทุกปี และที่สำคัญได้รุกล้ำเข้าไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ที่สำคัญ ทั้งนี้ในพื้นที่ อ.อมก๋อย มีพื้นที่ป่ากว่า 1.3 ล้านไร่ ถูกบุกรุกโดยชาวบ้านเพื่อไปปลูกพื้นที่ปลูกฝิ่นในปี 2558 จำนวน 972 ไร่ มีลำน้ำที่สำคัญคือน้ำแม่ต๋อมและน้ำแม่ตื่น โดยในปีที่ผ่านทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของผืนป่าและหน้าดิน โดย อ.อมก๋อย เป็นพื้นที่ต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำปิง ในการเก็บกักน้ำสู่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก ซึ่งจากผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาเรื่องฝิ่นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแค่คนใช้ หรือคนเสพในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังขยายวงกว้างไปกระทบกับคนส่วนมากอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกได้ไปทำลายแหล่งป่าชั้นดีเยี่ยมของประเทศไทยและส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่การกักเก็บในเขื่อนต่อไป
จากสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและให้สามารถลดสถานการณ์ฝิ่นในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ สำนักงาน ปปส.ภ.5 ร่วมกับศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่อำเภออมก๋อย โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดโครงการจิตอาสาทวงคืนผืนป่าจากแปลงฝิ่น เพื่อปลูกป่าทดแทนและอนุรักษ์ต้นน้ำ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2559 ขึ้นในวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2559 โดยมีนายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต รองเลขาธิการ ป.ป.ส. / นายวิชัย ไชยมงคล ผอ.ปปส.ภ.5 / พล.ต.กิตติศักดิ์ แม้นเหมือน ลธ.รมน.ภาค 3 / พล.ต.อุทัย ชัยชนะ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 / นายศิวะ ธมิกานนท์ นายอำเภออมก๋อย รวมถึงคณะเจ้าหน้าที่ ประชาชน แกนนำท้องถิ่น กลุ่มเด็กและเยาวชน ในพื้นที่ อ.อมก๋อย ร่วมกับกลุ่มจิตอาสาในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้าร่วมโครงการดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 300 คน ซึ่งมีกิจกรรม ดังนี้
1. ตัดทำลายไร่ฝิ่น (พื้นที่นำร่องบ้านมะหินหลวง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ 2 แปลง จำนวน 1 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นซ้ำซาก)
2. ปลูกป่าทดแทนฝิ่น ตามแนวทางสร้างป่าสร้างรายได้ทดแทนพื้นที่ปลูกฝิ่นเดิม
3. ร่วมพิธีทางศาสนา คืนผืนป่าจากแปลงฝิ่น เพื่อปลูกป่าทดแทนและอนุรักษ์ต้นน้ำ
4. กิจกรรมแจกผ้าห่ม/สิ่งของ ให้กับประชาชนในพื้นที่